สงวนลิขสิทธิ์
๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
ห้องเรียนคนทำค่าย
วันที่ ๒๗-๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมาคุณประสิทธิ์ วงษ์พรม หัวหน้าโครงการล้านแสงหิ่งห้อยร้อยรักเจ้าพระยาโดยศูนย์ ธรรมชาติศึกษาไทยของเรา ได้รับทุนจากโครงการชุดอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองโดยสำนักงงานสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ทางศูนย์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมนำเสนอและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการที่ได้รับคัด เลือกจากภาคใต้ ในการประชุมวันแรกเป็นการศึกษาดูงานกลุ่มอนุีัรักษ์คลองบางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานีการศึกษาดูงาน ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ลำคลอง กระบวนการทำงานกลุ่มและเทคนิคการแก้ไขคุณภาพ น้ำที่เน่าเสีย ในครั้งนี้คุณฉลวย กะเหว่านาคประธานเครือข่ายได้ให้ข้อคิดในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมว่าจะต้องเห็นคุณค่าของ คนในชุมชนและแสวงหาแนวร่วมด้วยความสมัครใจ
นำเสนอสรุปโครงการล้านแสงหิ่งห้อยร้อยรักเจ้าพระยา
ในช่วงสุดท้ายของงานประชุมเป็นการมอบใบประกาศเกียรติคุณ ในครั้งนี้โครงการล้านแสงหิ่งห้อยร้อยรักเจ้าพระยา ได้รับ คัดเลือกจาก ๗๒ โครงการเป็นโครงการที่สามารถดำเนินกิจกรรมจรบรรลุตัวชี้วัดของโครงการชุดอนุรักษ์ฟื้นคืนสภาพ แม่น้ำลำคลอง นอกจากนี้ยังมีคนในชุมชนของโครงการนี้ได้รับใบประกาศในฐานะผู้นำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน อีก ๕ คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านอาภรณ์ พานทอง ครูณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางน้ำผึ้ง ลุงแกละ และคุณประสิทธิ์ วงษ์พรมยังได้รับ ใบประกาศในครั้งนี้ด้วย โครงการล้านแสงหิ่งห้อยร้อยรักเจ้าพระยา ได้ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนจนทำให้ชุมชน บางน้ำผึ้งตระหนักถึงคุณภาพแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชุมชนอีก ทั้งมีองค์กรเยาวชนที่มีความเข้ม แข็ง ซึ่งในอนาคตโครงการจะมีการขยายเครือข่ายและสร้างความร่วมมือในระดับที่กว้างขึ้นเชื่อมโยงกับลำคลองสาขาอื่น ๆ ในพื้นที่เกาะกระเพาะหมู ของอำเภอพระประแดง ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทยต้องขอบคุณอาสาสมัคร นักศึกษาและชุมชน บางน้ำผึ้งในการขับเคลื่อนให้โครงการประสบผลสำเร็จ
เห็ดและราขนาดใหญ่
มุมสาระความรู้ กล้วยไม้ เฟิน ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย หญ้า เห็ดราขนาดใหญ่ มอส ไลเคน สาหร่าย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก แมลง แมงมุม แมงป่อง กิ้งกือ ไส้เดือน ปลา หอยแห่งท้องทะเล หอยน้ำจืด หอยทากบก ปู กุ้งและกั้ง ป่าไม้เมืองไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ สภาวะโลกร้อน สึนามิ
ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นการประชุมแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นและ ประสบการณ์ของแต่ละโครงการในภาคกลางและ
ภาคใต้ในช่วงแรกเป็นการนำเสนอวัตถุประสงค์ของการประ
ชุมภาพรวมของโครง การและสรุปผลการดำเนินการโครงการ
ชุดอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง โดย ดร. พฤฒินันท์ สุฤทธิ์ ต่อจาก
นั้นเป็นการนำเสนอผลงานจากโครงการสืบทอดภูมิปัญญา
สืบชะตาคลองกองดิน โดยคุณครูภานลิน กลิ่นวงศ์ จากจัง
หวัดระยอง ซึ่งในโครงการนี้ทางศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย
ได้เป็นวิทยากรร่วมด้วย เป็นที่น่ายิยดีที่โครงการนี้ได้รับคัด
เลือกให้นำเสนอผลงาน ส่วนโครงการที่สองที่นำเสนอคือ
โครงการอนุรักษ์คลองท่าทอง จ.สุราษฎร์ธานี ส่วนเรื่องที่สาม
เป็นการนำเสนอผลงานโครงการอนุรักษ์ลุ่มน้ำท่าจีน หลังจาก
นั้นก็เที่ยงและรับประทานอาหาร ในช่วงบ่ายเป็นการเสวนา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน โดยมีผู้ร่วมเสวนา
คือโครงการล้านแสงหิ่งห้อยร้อยรักษ์เจ้าพระยา โครงการ
อน
ุรักษ์คลองท่าแขก โครงการอนุรักษ์คลองสะบ้าย้อย และ
โครงการลูกเสือเด็กกู้แม่น้ำสุพรรณบุรี โดยมี ดร.อนงค์ หาญ
สกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ สำหรับเวทีแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดใน
การทำงานหลายแง่มุม โดยเฉพาะเรื่องการเป็นผู้นำขององค์กร
การแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน การใช้มิติภูมิปัญญาใน
การประยุกต์ร่วมในการทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญในการ
ส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถพัฒนา งานต่อไปได้ใน
ระยะยาว
ถ่ายภาพร่วมกัน ขวาสุดคือคุณฉลวย กะเหว่านาค ประธานเครือข่ายอนุรักษ์คลองบางปรอก แถวหน้าซ้ายสุดคือผู้เขียน คนกลางแถวหน้าเสื้อสีขาวคือคุณ อนงค์ หาญสกุล ผู้ติดตามโครงการ
คุณ ฉลวย กะเหว่านาค และคณะทำงานกำลังนำเสนอประสบการณ์แนวคิดในการทำงาน
คุณประสิทธิ์ วงษ์พรมกำลังนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ร่วมกับผู้ร่วมเ สวนา ท่านอื่น ๆ โดยมีดร.อนงค์ หาญสกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ
คุณภานลิน กลิ่นวงศ์ หัวหน้าโครงการสืบทอดภูมิปัญญาสืบชะตาคลองกองดิน ขณะกำลังนำเสนอผลงาน (ภาพซ้าย) และรับของที่ระลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส.
-